ทัศนศึกษาวิชานิเวศวิทยา
10-11 มีนาคม 2561

สถานที่ การเตรียมตัว การทัศนศึกษาและการสำรวจภาคสนาม การทำรายงาน รายชื่อกลุ่ม

สถานที่ โครงการอัมพวา-พัฒนานุรักษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม และ โครงการชั่งหัวมัน จังหวัดเพชรบุรี

การเตรียมตัวในการทำปฏิบัติการ นิสิตต้อง

- วางแผนการทำงาน : การแบ่งกระจายงานให้แก่สมาชิก, การเตรียมอุปกรณ์, พิจารณาข้อมูลที่ต้องการจากการทัศนศึกษา

- จับกลุ่ม กลุ่มละ 10-12 คนเพื่อทำงานกลุ่ม

การทัศนศึกษาและการสำรวจภาคสนาม

1) เมื่อถึงสถานที่แล้วนิสิตจะต้องเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ
1.1) สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่พบ (ถ่ายภาพประกอบรายงานด้วย หากไม่สามารถระบุได้ ให้ถ่ายภาพเพื่อกลับมาค้นคว้าต่อไป)
1.2) สภาพแวดล้อม (ประเมินโดยสายตา ใช้อุปกรณ์ให้น้อยที่สุด)

2) ให้นิสิตประเมินความคล้ายคลึง ความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศที่สำรวจ 2 พื้นที่ (พื้นที่อนุรักษ์ตามธรรมชาติ และพื้นที่ที่มีการจัดการโดยมนุษย์)

การรายงานผลการศึกษา ให้นิสิตทำรายงานส่งเป็นรูปเล่ม จัดส่งภายในวันที่ 31 มีนาคม 2560 (หากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบภายหลัง)

รูปแบบรายงานให้อ้างอิงจากหนังสือปฎิบัติการบทที่ 1 โดยไม่ต้องจัดทำบทคัดย่อ

การให้คะแนนรายงาน (เต็ม 20 คะแนน) แนวทางการให้คะแนน

1 ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ทั้ง 2 (15 คะแนน ) การให้คะแนนจะพิจารณาจากความถูกต้องทางวิชาการโดยส่วนประกอบต่าง ๆ ของรายงานให้อ้างอิงบทที่ 1 เกณฑ์การให้คะแนน

1) ความถูกต้องทางวิชาการ

2) รายละเอียดของการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศ

2 อิทธิพลจากการจัดการพื้นที่โดยมนุษย์ หรือมีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง

 

ให้นิสิตจัดทำรูปสมาชิก และรายละเอียดตามภาพส่งก่อนไปทัศนศึกษา


ปรับปรุงครั้งล่าสุด: February 25, 2018 12:25